วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระปิดตาหลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ

         พระปิดตาหลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ พระปิดตานี้ผม(ผศ.มานิตย์ เขียวดารา)สร้างขึ้นให้หลวงลุงดู่ อธิษฐานจิตปลุกเศก ทำด้วยผงผสมว่านซึ่งเป็นเนื้อหาเดิมจากการสร้างพระพิมพ์พ่อขุน(พระรอด)นั่น เอง มีด้วยกันหลายพิมพ์หลายขนาด ผมแกะพิมพ์เองเกือบทุกพิมพ์  มีอยู่พิมพ์เดียวที่แกะพิมพ์ให้คล้ายพระปิดตาหลวงพ่อแก้ววัดเครือวัลย์โดย อาจารย์อนันต์ สวัสดิ์สวนีย์ เป็นผู้ทำพิมพ์มาให้ ผมทำพระชุดนี้เป็นแบบทำพิมพ์ละ 108 องค์ไปเรื่อยๆ พอทำได้ครบทุกพิมพ์ก็นำไปให้หลวงลุงอธิษฐานจิตปลุกเศก แล้วนำไปให้หลวงพี่ลำใย สัญญโม อธิษฐานจิตปลุกเศกอีก เสร็จแล้วนำไปฝากหลวงลุงไว้ในกุฏีของท่านอีก 5พรรษา จึงนำมาแจกกัน  พระที่ผมสร้างทุกรุ่นทุกพิมพ์และทุกองค์เวลาผมทำผมใช้มือกดพิมพ์ทั้งสิ้น เวลาทำต้องไหว้พระ อาราธนาศีล อาราธนาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มาช่วย และผมจะต้องภาวนาจนจิตดีแล้วถึงลงมือทำนะครับ(ทำไปคุมจิตไปภาวนาไปทุกองค์)  ภาพพระตามรูปนี้ครับ

พระปิดตาหลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ
พระปิดตาหลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ

พระปิดตาหลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ2
พระปิดตาหลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ

พระปิดตา01
พระปิดตา(ผศ.มานิตย์ เขียวดารา สร้าง) ปี 2525

พระปิดตา02
พระปิดตา ปี 2525(ปิดทอง)

พระปิดตา03
พระปิดตา(พี่แอ๊ด อุทัย สร้าง)

พระปิดตา04
พระปิดตา(ผศ.มานิตย์ เขียวดารา สร้าง)
พระปิดตา05
พระปิดตาพิเศษสองด้าน

พระปิดตา06

พระปิดตา07

พระของเพื่อนฝากประกาศให้เช่า

เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ(เงินหน้าทองคำ)
              เหรียญนี้เป็นเหรียญเก่าเก็บไม่ได้ใช้เลย สภาพสมบูรณ์อย่างในรูป ผมไม่ได้ทำอาชีพนี้แต่สงสารเพื่อนอยากช่วยเขา ท่านใดสนใจติดต่อไปที่โทร.081-9014311นะครับ























































































































เหรียญหลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ(รุ่นไม่มีห่วง) ตอน 2

เหรียญรุ่นนี้ผมต้องการสร้างเพื่อถวายแด่หลวงลุงเพื่อให้แจกกับลูกศิษย์ทั่วไป โดยให้ลูกศิษย์ทั้งหลายช่วยกันเป็นเจ้าภาพโดยการจองเหรียญ ทองแดง ราคา 5 บาท ต่อสองเหรียญ เอาถวายหลวงลุงหนึ่งเหรียญผู้จองเก็บไว้หนึ่งเหรียญ มีเหรียญเงินจำนวนหนึ่ง  เหรียญทอง 79 เหรียญ  ที่ถวายหลวงลุงมีแต่เหรียญทองแดงเท่านั้นครับ   เหรียญชุดนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 2529   ตอนหลวงลุงอธิฐานจิตเศก หลวงพี่ลำใย สัญญโม ได้ร่วมอธิฐานจิตด้วย    การสร้างพระของหลวงลุงนั้นท่านจะให้สร้างแบบเต็มองค์เสมอ ท่านบอกว่า"เต็มองค์ก็เต็มใจ"และตั้งองค์พระง่ายเวลาเศก

วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

เหรียญหลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ"รุ่นไม่มีห่วง"ตอนที่ 1

                                                                  
                 เหรียญรุ่นนี้ผม(ผศ.มานิตย์ เขียวดารา)เป็นผู้ขออนุญาตสร้างถวาย โดยความปรารถนาของผมเองที่จะสร้างเหรียญรูปหลวงลุงให้สวยที่สุดและเหมือนท่านที่สุด  ผมไปวัดสะแกในช่วงแรกๆมีการเล่าขานกันว่า รูปหลวงลุงนั้นใครก็ปั้นหรือแกะได้ไม่เหมือนองค์จริง ผมขออนุญาตสร้างเหรียญรูปเหมือนของท่านได้แล้ว ผมก็ไปคุยกับอาจารย์อนันต์ สวัสดิ์สวนีย์ ซึ่งพี่ช้าง พี่ธร แนะนำให้  แล้วชวนอาจารย์อนันต์ ไปกราบหลวงลุงเพื่อขออนุญาตปั้นรูปของท่าน  วันที่อาจารย์อนันต์ไปกราบท่านผมเรียนให้ท่านทราบว่าการทำเหรียญรูปท่านในครั้งนี้ผมจะใช้วิธีปั้นรูปท่านก่อนแล้วนำไปย่อส่วนจนได้ขนาดที่ต้องการ แล้วจึงปั๊มออกมาเป็นเหรียญ อาจารย์อนันต์ จะเป็นผู้ปั้นรูปหลวงลุงนะครับ  ท่านบอกเออเขาทำได้เขาเป็นคนดี ผมเตรียมรูปถ่ายหน้าตรงของท่านไว้ พอเอาไปให้ท่านดู เรียนท่านว่าจะเอารูปนี้เป็นแบบในการสร้างท่านดูภาพแล้วหยิบปากกาเมจิคขึ้นมาเขียนนามของท่านลงที่ด้านล่างของรูป  ผมมีปิติจนบอกไม่ถูก ท่านกำหนดแบบเหรียญของท่านเองว่าต้องมีลายเซนต์อย่างนี้  หลังจากนั้นอาจารย์อนันต์ก็ปั้นแบบเหรียญเป็นรูปหลวงลุงตามกรรมวิธีของเขาโดยผมไปดูอยู่เสมอจนเสร็จเรียบร้อย แล้วก็พากันไปให้ร้านชโลกุลทำการย่อ ทำแม่พิมพ์ และปั๊มออกมาเป็นเหรียญดังที่เห็น                                                                                                                                                        

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

"พระพรหม"สุดยอดพระเครื่องของหลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ


   พระพรหมพิมพ์ใหญ่ของหลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ
องค์ที่หลวงลุงจารอักขระให้ด้านหลัง
   กิจวัตรประจำของหลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ คือหลังจากท่านฉันภัตตาหารเช้าแล้วท่านจะเข้ากุฎีแล้วเลยออกไปด้านหลังกุฎีเพื่อทำกิจส่วนตัวของท่าน หลังจากเรียบร้อยแล้วท่านจะจัดการแกะพระออกจากพิมพ์(สถานที่นี้คือชานนอกกุฎีระหว่างห้องและห้องน้ำ)ใส่ไว้ในถาดกลมๆแบบโบราณที่นิยมเอาใส่ถ้วยชามอาหารถวายพระ มีตะไบยาวประมาณศอกอยู่สองอันเอาไว้แต่งพระ แกะพระออกจากพิมพ์เสร็จท่านจะล้างแม่พิมพ์ซึ่งทำด้วยยางพาราจนสะอาดดีแล้ว ก็ผสมปูนซีเมนต์ขาวกับผงพระ แล้ว  ใช้ช้อนตักหยอดลงในแม่พิมพ์จนเต็มทุกช่อง เสร็จจากนั้นท่านก็จะมาดูพระที่แกะออกจากแม่พิมพ์แล้ว องค์ที่มีเนื้อเกินก็ใช้ตะไบถูแต่งให้พอดี องค์ที่งามอยู่แล้วก็ไม่แต่ง ท่านจะคัดองค์ที่สมบูรณ์ งามๆ เอาแช่ในน้ำมนตร์ทำให้องค์พระเป็นสีขาว องค์ทั่วๆไปก็แช่ในน้ำน้ำมนตร์ปนกับน้ำชาที่เหลือจากการเลี้ยงแขกที่หน้ากุฎี องค์พระจะเป็นสีน้ำตาล  ผมเองเวลาเข้าปฏิบัติหรือ"ทำงาน"ก็มักมา"ทำงาน"ที่ตรงนี้  หลวงลุงจะให้ช่วย"เทพระ"ในโอกาสวันสำคัญเสมอ หรือไม่ผมก็ขอท่าน"เทพระ"ในวันเกิดตนเองบ้างซึ่งท่านก็เมตตาให้"เทพระ"ทุกครั้ง และที่สำคัญคือท่านต้องให้วิรัตน์ศีล และทำสมาธิให้ดีเสียก่อน  ผมช่วยท่านแต่งองค์พระเกือบทุกครั้งที่ไปค้างที่วัด เสร็จแล้วก็เลือกพระองค์สวยๆ(ส่วนใหญ่จะเป็นที่แช่ในน้ำมนตร์)ออกมาขอท่านให้ประสิทธิ์ประสาทให้โอกาสแรกที่ขอท่านถามว่า"เอ็งจะเอาไปทำไมหลายองค์" ผมตอบท่านว่าจะขอเก็บไว้แจกลูกศิษย์อื่นๆในโอกาสหน้า  ท่านบอก"เออได้แต่ พรหมข้าห้ามแจกใครนะ ข้าแจกเอง ข้าไม่อยู่แล้วค่อยให้คนอื่นได้"  ผมรับปากท่าน หลังจากนั้นผมก็นำพระพรหมที่เลือกแล้วมาขอให้ท่านประสิทธิ์ประสาทให้ทุกครั้งตอนก่อนกลับบ้าน  ลูกศิษย์รุ่นเก่าที่มีพระคุณยิ่งของผมก็เก็บพระพรหมแบบเดียวกับผมเหมือนกันแต่ท่านไม้ได้เลือกองค์สวยๆอย่างผม  นานพอควรในการนี้จนวันหนึ่งท่านเอ่ยปากว่า"เอ็งสองคนเขียนตัวพอเป็นหรือยัง" แล้วหัวเราะ  ผมกราบท่านแล้วเรียนท่านว่า "ครับ เขียนเป็นแล้วครับ"หลังจากนั้นก็ไม่ขอพรหมจากท่านอีกเลย  ผมเองได้รับพระพรหมองค์แรกจากท่านตั้งแต่วันแรกที่ไปกราบฝากตัวเป็นลูกศิษย์ครับ    หลังจากหลวงลุงละสังขาร หลวงพี่ลำใย สัญญโม ศิษย์รูปสำคัญของหลวงลุงกับลูกศิษย์รุ่นหลังผมเกือบ 20 คน ไปที่บ้านผม ผมถวายพรหมให้ท่านไปจำนวนหนึ่งและแจกทุกคนที่ไปด้วยคนละองค์
           ผมเล่าเรื่องย้อนหลังมาตั้งนาน มาเข้าเรื่อง"สุดยอดพระเครื่องของหลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ"กันเสียที   วันหนึ่งผมไปวัดพร้อมกับพี่ช้าง ราชดำเนิน พี่แอ๊ด อุทัย  ได้นั่งสนทนากับท่าน พอดีได้คุยกันเรื่องพระสมเด็จ ซึ่งคุยกันว่าตอนนี้ราคาสูงมากถึงสิบล้านบาท  ท่านก็บอกว่าของข้าก็มีองค์หนึ่ง ผมรีบถามทันทีว่ายังอยู่ไหมครับท่านบอกว่าข้าบดทำเป็นผงผสมไปในพระแล้ว พวกเราได้แต่บอกว่าเสียดายครับ  ท่านยิ้มแล้วบอกว่า"พรหมของข้า ต่อไปสิบล้านมันก็หัวชนกันแย่งกัน พรหมของข้ากันปรมาณูได้"
             ในอดีตที่หลวงลุงยังไม่ละสังขารนั้น  พรหมหรือพระพรหม ของท่านเป็นที่ปรารถนาของลูกศิษย์อย่างยิ่ง เพราะท่านไม่ได้แจกให้กับทุกคน ท่านให้เฉพาะศิษย์ที่ท่านจะให้เท่านั้นและมีจำนวนไม่มากคนด้วยครับ ศิษย์ที่ได้จะได้ของเหมือนกันทุกคน หลายคนไปกราบท่านครั้งแรกก็ได้เลยบางคนทำดีปฏิบัติดีแล้วจึงได้แต่หลายคนไปเป็นสิบปีก็ไม่ได้  ใครได้พระพรหมจากท่านถือว่าสุดยอดครับ
             พระพรหมองค์ที่ท่านเห็นในหน้าเวปนี้เป็นองค์ที่ผมแต่งเองด้วยกระดาษทรายต่อหน้าท่านที่หน้ากุฎีผมทำพิมพ์ใหญ่หนึ่งองค์ เศียรพรหมพิมพ์กลางสององค์ เศียรพรหมพิมพ์เล็กสององค์ พอทำเสร็จท่านถามว่าเสร็จหรือยัง ผมตอบท่านว่าเสร็จแล้วครับ จากท่านั่งเอนใช้ศอกท้าวบนไม้ขอนขื่อโบสถ์ ท่านนั่งตรงหยิบเหล็กจารออกมาแล้วบอก"เอามา ข้าจะทำให้ เอาให้เต็มที่ไปเลย" แล้วท่านก็จารอักขระลงที่ด้านหลังองค์พระให้ผมทั้งห้าองค์แล้วประสิทธิ์ประสาทให้ ผมนำไปเลี่ยมพลาสติกติดตัวมาแต่นั้นพอตอนหลังจะเอาใส่ตลับพระตอนแกะพลาสติกออก(ทำเอง)ขอบด้านบนขององค์พระหลุดเลยเป็นอย่างที่เห็น โอกาสหน้าจะถ่ายภาพชัดๆให้ดูกันนะครับ
                                                                                                                                            
                                                                  เศียรพรหมพิมพ์ใหญ่
                                                                เศียรพรหมพิมพ์กลาง
เศียรพรหมพิมพ์เล็ก
พรหมใหญ่ที่หลวงลุงมอบให้เฉพาะลูกศิษย์

                                                   พรหมใหญ่ที่หลวงลุงมอบให้เฉพาะลูกศิษย์   
                                        
                                               
                                          พรหมใหญ่ชนิดไม่มีขอบ(สร้างก่อนพิมพ์ใหญ่มีขอบ)              

วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พระซุ้มกอ(จิ๋ว)ของหลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ

พระซุ้มกอ (จิ๋ว) ของพลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ

         หลังจากที่ผมสร้างพระพิมพ์พ่อขุน ซึ่งใช้แทนพระรอดมหาวันแล้ว  ผมก็มีความคิดที่จะสร้างพระในชุดเบญจภาคีชุดเล็กจิ๋วขึ้นมาสักชุด(ผมชอบพระเล็กๆ)ผมก็คุยกับพี่ช้าง(ช้าง ราชดำเนิน)และพี่สาธร(สาธร  ท่าพระจันทร์)ให้พี่เขาหาช่างฝีมือดีๆแกะพิมพ์ให้ที  พี่ทั้งสองก็จัดการให้ ผมจำไม่ได้แล้วว่าช่างชื่ออะไร ช่างแกะแม่พิมพ์มาให้ดูก็เลือกได้พิมพ์ซุ้มกอเพียงพิมพ์เดียวเท่านั้น  ผมก็นำมาทำโดยใช้มวลสารชุดเดิมที่เหลือจากการทำพระพิมพ์พ่อขุนนั่นเอง ในการทำครั้งนี้ก็เป็นการทำต่อเนื่องจากการทำพระพิมพ์พ่อขุนนั่นแหละครับแต่มาทำในปี2529  และครั้งนี้คุณสุธันว์ สุนทรเสวี เพื่อนซึ่งเป็นศิษย์วัดสะแกรุ่นหลังผมและเคยเป็นพ่อบ้านโรงพยาบาลลำปาง(ลูกศิษย์หลวงพ่อเกษม เขมโก)ได้ทำตราปั๊มเป็นยันต์นะซ่อนหาง ซึ่งเป็นยันต์ที่หลวงลุงท่านใช้จาร ลงที่องค์พระเสมอ มาให้ ผมก็เลยปั๊มลงที่หลังองค์พระซุ้มกอทุกองค์ที่ผมทำ   พระชุดนี้ให้หลวงลุงอธิษฐานจิตปลุกเศกหลังจากพระพิมพ์พ่อขุน  มีจำนวนประมาณ 500 องค์ หลังจากหลวงลุงละสังขารแล้วหลวงพี่ลำใย สัญญโม(ศิษย์ก้นกุฏิที่แท้จริงของหลวงลุง)ท่านถามถึงพระชุดนี้ผมจึงนำไปถวายท่านที่วัดสะแกประมาณ2-300 องค์ หลวงพี่ลำใยท่านก็เอาไปใส่กรอบแจกบรรดาลูกศิษย์ทั้งของหลวงลุงและของท่านที่ไปกราบท่านที่วัด  มีอยู่วันหนึ่งผมไปกราบท่านแล้วนั่งคุยกับท่านอยู่ก็มีลูกศิษย์กลุ่มหนึ่งมากราบท่านแล้วบอกกับท่านว่า อยากรวยเหมือนคนอื่นบ้าง ท่านก็ถามว่าแล้วยังไงล่ะ  ศิษย์คนนั้นก็ตอบว่อยากได้พระที่ท่านแจกไปแล้วเขารวยกันบ้างสักองค์  ท่านยิ้มแล้วบอกอ้อ..แล้วหันมาทางผม บอก  นี่ๆเจ้าของ...คนทำพระเขาอยู่นี่ หมดแล้ว..ข้าแจกไปหมดแล้ว  ผมมีปิติจนบอกไม่ถูกเลยครับ

พระพิมพ์ผงสุพรรณ(จิ๋ว)หลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ

พระพิมพ์ผงสุพรรณ (จิ๋ว) ของหลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ

         ในการสร้างพระชุดเบญจภาคีจิ๋วของผมนั้นหลังจากได้พิมพ์ซุ้มกอมาจากการจ้างช่างแกะพิมพ์แล้วผมก็ได้แม่พิมพ์พระผงสุพรรณ ซึ่งเป็นพิมพ์หน้าแก่ที่สวยมากๆขนาดเล็กนิดเดียว จากอาจารย์อนันต์  สวัสดิ์สวนีย์ ท่านนี้ทำงานที่กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร  อาจารย์อนันต์นำแม่พิมพ์มาให้ผมก็ทำพระชุดนี้ขึ้นในปี 2529 มีจำนวน 108 องค์ หลวงลุงอธิษฐานจิตปลุกเศกให้พร้อมพระปิดตาองค์เล็กๆ  ผมแจกผู้ใกล้ชิดบ้างลูกศิษย์บ้างจนเหลืออยู่ไม่กี่องค์  เนื้อพระก็เป็นเนื้อเดียวกันกับพระซุ้มกอนั่นแหละครับ ด้านหลังก็ปั๊มยันต์นะซ่อนหางเช่นเดียวกับพระซุ้มกอ