วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พระซุ้มกอ(จิ๋ว)ของหลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ

พระซุ้มกอ (จิ๋ว) ของพลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ

         หลังจากที่ผมสร้างพระพิมพ์พ่อขุน ซึ่งใช้แทนพระรอดมหาวันแล้ว  ผมก็มีความคิดที่จะสร้างพระในชุดเบญจภาคีชุดเล็กจิ๋วขึ้นมาสักชุด(ผมชอบพระเล็กๆ)ผมก็คุยกับพี่ช้าง(ช้าง ราชดำเนิน)และพี่สาธร(สาธร  ท่าพระจันทร์)ให้พี่เขาหาช่างฝีมือดีๆแกะพิมพ์ให้ที  พี่ทั้งสองก็จัดการให้ ผมจำไม่ได้แล้วว่าช่างชื่ออะไร ช่างแกะแม่พิมพ์มาให้ดูก็เลือกได้พิมพ์ซุ้มกอเพียงพิมพ์เดียวเท่านั้น  ผมก็นำมาทำโดยใช้มวลสารชุดเดิมที่เหลือจากการทำพระพิมพ์พ่อขุนนั่นเอง ในการทำครั้งนี้ก็เป็นการทำต่อเนื่องจากการทำพระพิมพ์พ่อขุนนั่นแหละครับแต่มาทำในปี2529  และครั้งนี้คุณสุธันว์ สุนทรเสวี เพื่อนซึ่งเป็นศิษย์วัดสะแกรุ่นหลังผมและเคยเป็นพ่อบ้านโรงพยาบาลลำปาง(ลูกศิษย์หลวงพ่อเกษม เขมโก)ได้ทำตราปั๊มเป็นยันต์นะซ่อนหาง ซึ่งเป็นยันต์ที่หลวงลุงท่านใช้จาร ลงที่องค์พระเสมอ มาให้ ผมก็เลยปั๊มลงที่หลังองค์พระซุ้มกอทุกองค์ที่ผมทำ   พระชุดนี้ให้หลวงลุงอธิษฐานจิตปลุกเศกหลังจากพระพิมพ์พ่อขุน  มีจำนวนประมาณ 500 องค์ หลังจากหลวงลุงละสังขารแล้วหลวงพี่ลำใย สัญญโม(ศิษย์ก้นกุฏิที่แท้จริงของหลวงลุง)ท่านถามถึงพระชุดนี้ผมจึงนำไปถวายท่านที่วัดสะแกประมาณ2-300 องค์ หลวงพี่ลำใยท่านก็เอาไปใส่กรอบแจกบรรดาลูกศิษย์ทั้งของหลวงลุงและของท่านที่ไปกราบท่านที่วัด  มีอยู่วันหนึ่งผมไปกราบท่านแล้วนั่งคุยกับท่านอยู่ก็มีลูกศิษย์กลุ่มหนึ่งมากราบท่านแล้วบอกกับท่านว่า อยากรวยเหมือนคนอื่นบ้าง ท่านก็ถามว่าแล้วยังไงล่ะ  ศิษย์คนนั้นก็ตอบว่อยากได้พระที่ท่านแจกไปแล้วเขารวยกันบ้างสักองค์  ท่านยิ้มแล้วบอกอ้อ..แล้วหันมาทางผม บอก  นี่ๆเจ้าของ...คนทำพระเขาอยู่นี่ หมดแล้ว..ข้าแจกไปหมดแล้ว  ผมมีปิติจนบอกไม่ถูกเลยครับ

พระพิมพ์ผงสุพรรณ(จิ๋ว)หลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ

พระพิมพ์ผงสุพรรณ (จิ๋ว) ของหลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ

         ในการสร้างพระชุดเบญจภาคีจิ๋วของผมนั้นหลังจากได้พิมพ์ซุ้มกอมาจากการจ้างช่างแกะพิมพ์แล้วผมก็ได้แม่พิมพ์พระผงสุพรรณ ซึ่งเป็นพิมพ์หน้าแก่ที่สวยมากๆขนาดเล็กนิดเดียว จากอาจารย์อนันต์  สวัสดิ์สวนีย์ ท่านนี้ทำงานที่กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร  อาจารย์อนันต์นำแม่พิมพ์มาให้ผมก็ทำพระชุดนี้ขึ้นในปี 2529 มีจำนวน 108 องค์ หลวงลุงอธิษฐานจิตปลุกเศกให้พร้อมพระปิดตาองค์เล็กๆ  ผมแจกผู้ใกล้ชิดบ้างลูกศิษย์บ้างจนเหลืออยู่ไม่กี่องค์  เนื้อพระก็เป็นเนื้อเดียวกันกับพระซุ้มกอนั่นแหละครับ ด้านหลังก็ปั๊มยันต์นะซ่อนหางเช่นเดียวกับพระซุ้มกอ

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ภาพถ่าย หลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ

(กดที่ภาพ เพื่อขยายใหญ่ได้ครับ )
            ผมเข้าไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงลุงเมื่อปี 2519 โดยพี่คือ นาวาเอกสำเภา คมสัน เป็นผู้พาไป เริ่มปฏิบัติธรรมกับหลวงลุงนับแต่บัดนั้น และได้รับความเมตตาจากท่านเป็นอย่างยิ่งท่านมอบ "พระพรหม" ให้บูชาติดตัวมาตั้งแต่วันนั้น  ผมไปวัดสะแกเพื่อปฏิบัติธรรมกับท่านตลอดเมื่อมีโอกาสว่าง นอนค้างที่วัดเป็นประจำ  วันหนึ่งเมื่อปี 2523 ผมนั่งฟังธรรมะ และคุยเรื่องอื่นๆกับท่าน ผมปรารภว่าอยากได้พระรอดวัดมหาวันไว้บูชาติดตัวสักองค์ ท่านมองหน้าแล้วยิ้มๆแล้วบอกว่าพระกรุพระเก่า เป็นข้าๆไม่เอาหรอก  เพราะอะไรครับหลวงลุง ผมถาม มันบาป ท่านว่า  เจ้าของที่เขาสร้างไว้เขาไม่ได้อนุญาตเราเอามาใช้กันเอง  ถ้าอย่างนั้นเราจะเอาพระที่ไหนมาใช้ติดตัวล่ะครับ  ก็สร้างเองซิ ท่านบอก  "ผมขออนุญาตสร้างพระนะครับ จะได้เอาไว้บูชาติดตัวกัน"  "เออ ข้าอนุญาต" 

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พระรอดหลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ

พระพิมพ์พ่อขุน (พระรอดของหลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ)


        นับจากวันนั้นผมก็ลงมือสร้างพระที่จะใช้แทนพระรอดดังที่เล่ามา  เริ่มต้นตั้งแต่แกะพิมพ์เอง บรรดาลูกศิษย์จากสาธิตรามก็ช่วยกันหาว่านชนิดต่างๆเน้นเมตตามหานิยมเป็นหลัก พอได้มาก็นำไปหาท่าน ท่านก็แนะนำให้หั่นตากไว้ก่อนจนแห้งดีแล้วก็นำไปบดเป็นผง  รวมทั้งดอกบัวบูชาพระ ของท่านที่บานแล้ว  พอได้วัสดุเพียงพอก็ดำเนินการทำ ถือฤกษ์วันมาฆะบูชาเป็นวันลงมือทำองค์แรก  วันนั้นขอผงพระจากท่าน ท่านให้ไปหยิบเอาในห้อง  ขอข้าวเศกที่ท่านฉัน กล้วยน้ำว้า น้ำผึ้ง(เก่าหลวงพี่ลำใย บอกว่าหลวงลุงเศกไว้เกือบ 20 ปี) เริ่มทำหลังจากท่านฉันภัตตาหารเช้าแล้ว   เอาไว้อ่านต่อตอนต่อไปนะครับ

พระรอดหลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ (๒)

พระพิมพ์พ่อขุน  (พระรอดของหลวงลุงดู่ พรหมปัญโญ)
พิมที่มียันต์ข้างหลังนี้สร้างหลังจากชุดแรก(สร้างพร้อมพิมพ์ซุ้มกอและพิมพ์ผงสุพรรณ)




ชุดนี้เป็นเนื้อผงผสมปูนซีเมนท์

หลังจากท่านฉันภัตตาหารเช้าแล้วท่านถามว่าพร้อมหรือยัง ผมตอบว่าพร้อมครับ  หลวงลุงให้ผมจุดธูปเทียนบูชาพระท่หน้ากุฎีท่าน ให้รับศีล  แล้วให้นั่งที่หน้าพระที่บูชา ให้ทำจิตให้นิ่งเป็นสมาธิ  พอจิตเข้าที่ดีแล้วหลวงลุงบอกเอาละข้าขอยืมมือเอ็งกดนะ แล้วท่านก็ใชมือขวาของท่านจับที่ต้นขาซ้ายของผม(ท่านให้นั่งหันหน้าไปทางเดียวกับท่าน)เอ้า...กดพิมพ์ได้ (ขณะที่ท่านจับที่ต้นขาผม ผมมีความรู้สึกเหมือนมีพลังไหลเข้ามาในร่างกาย มีความปิติ ซาบซ่าน ขนลุกขนพอง ไปทั้งตัว)  พอกดพิมพ์องค์แรกเสร็จ ท่านบอกสำเร็จแล้วนะ ต่อไปนี้ข้าอนุญาตให้ไปทำที่ไหนก็ได้ เสร็จแล้วเอามาให้ข้า ข้าจะเศกให้  ต่อจากนั้นผมก็ทำเรื่อยมาจนได้พระทั้งหมดประมาณ สองพันองค์ มีเนื้อ และสีแตกต่างกันพอสมควร จะถ่ายภาพมาให้ดูกันในโอกาสหน้า  ผมเอาพระไปให้ท่านอธิษฐานจิตปลุกเศกเมื่อวันวิสาขะบูชาปี ๒๕๒๓และท่านก็แจกในวันนั้นไปจำนวนหนึ่งน่าจะเท่ากับจำนวนลูกศิษย์ที่ไปทำบุญในวันนั้น(วันคล้ายวันเกิดของท่าน) วันรุ่งขึ้นผมไปกราบท่านตอนเช้า พบกับท่าน ผศ.ชาญ  อาภาสัตย์ (ต้องขออภัยที่เอ่ยนามและหากผมพิมพ์นามสกุลผิด)ได้มอบพระพิมพ์ทีสร้างให้อาจารย์ชาญสององค์  อาจารย์ถามผมว่าเป็นพิมพ์อะไรจะได้ลงบันทึกไว้เป็นหลักฐานว่าสร้างเมื่อไหร่ ใครสร้าง ชื่อพิม์อะไร  ผมบอกว่ายังไม่ได้ตั้งชื่อว่าพิมพ์อะไรแต่วัตถุประสงค์ที่สร้างก็เพื่อใช้ทดแทน "พระรอดมหาวัน"  อาจารย์ชาญหยิบองค์พระขึ้นพิจารณาสักครู่แล้วบอกว่า   คนสร้างอยู่รามคำแหง งั้นตั้งชื่อพิมพ์ว่า "พิมพ์พ่อขุน" ก็แล้วกันนะครับหลวงลุง  หลวงลุงนั่งยิ้ม พยักพน้าเห็นด้วย  อาจารย์ชาญก็จัดการห่อองค์พระด้วยกระดาษที่เขียนชื่อพิมพ์พระไว้ นำไปเก็บที่ลังเก็บพระที่หลวงลุงปลุกทำประวัติทำเศกแล้ว เตรียมไว้ทำประวัติของหลวงลุงและพระที่อธิษฐานจิตปลุกเศก เสียดายที่หลังจากหลวงลุงมรณะภาพแล้วมีปัญหาเกิดขึ้นเราจึงไม่ได้เห็นหรือได้ทราบถึงพระและวัตถุมงคลที่หลวงลุงได้เมตตาอธิษฐานจิตปลุกเศกไว้จริงๆ  มิใช่มีของไม่ได้เศกเข้ามาแอบอ้างกันมากมายอย่างทุกวันนี้   ด้วยความเคารพอย่างสูงของผมที่มีต่อหลวงลุงผมจะพยายามเขียนเรื่องจริง พระจริงของท่านมาให้ทราบกันต่อไป  ทั้งนี้ต้องขออภัยทุกท่านที่ผมได้อ้างอิงนามของท่านด้วยความเคารพ  จากที่ผมเขียนมาให้ทราบกันนี้ "พระรอดของหลวงลุงดู่" จึงเป็นพระพิมพ์ "พ่อขุน"   นั่นเอง  พระพิมพ์พ่อขุนนี้หลวงลุงได้แจกในวันคล้ายวันเกิดของท่านถึงสองปี (ปี 2523และ2524)ใครที่เคยได้รับแจกไปนำขึ้นติดตัวได้เลยครับ และท่านยังบอกอีกว่า "ข้าเศกเพิ่มพลังของว่านทั้งหมดให้สูงสุดแล้ว ไม่มีใครเขาทำกันอย่างนี้หรอก"  พระพิมพ์นี้เก็บอยู่ในกุฎิหลวงลุงตั้งแต่ปี 2523 หลวงลุงให้หลวงพี่อ้วน(จำวัดอยู่กุฏิหลังหลวงพ่อขาว)นำออกมาให้ผมก่อนท่านละสังขารประมาณหนี่งเดือน และวันนั้นผมแกะกล่องออกถวายให้ท่านแจกบรรดาศิษย์ที่มาหาท่านในวันนั้นอีกจำนวนหนึ่งน่าจะประมาณ 100 คน  ผมมอบพระพิมพ์นี้ให้กับญาติสนิทมิตรสหายและผู้ที่เคารพนับถือท่าน เรื่อยมาจนทุกวันนี้